สารที่ไม่ย่อยสลาย
สารก่อมลพิษที่พบในตัวแอมฟิพอด รวมถึง โพลีคลอรีเนต ไบเฟนิล (PCBs) และโพลีโบรมิเนต ไดเฟนิล เอเธอร์ (PBDEs) ซึ่งใช้ในการผลิตฉนวนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุทนไฟ
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามการผลิต PCB เมื่อปี 1979 และในปี 2001 ก็มีการลงนามในอนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants)
แต่ปริมาณการผลิตสาร PCBs ทั่วโลก จากช่วงปี 1930 จนถึงที่ถูกสั่งห้ามในปี 1970 คาดว่าจะมีถึง 1.3 ล้านตัน ซึ่งสารที่ถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมทั้งจากอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม และการไหลซึมจากกองขยะ สามารถทนทานต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ทำให้ยังคงตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม และในผลการศึกษาระบุว่า ยากที่จะขยายขอบเขตการวิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนของสารที่พบบริเวณพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้วิธีวัดค่าและเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนที่ต่างกันในผลศึกษาก่อนหน้านี้
พบสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร
รายงานระบุด้วยว่า ระดับสาร PBCs พี่พบในร่องน้ำลึกมารีอานา สูงกว่าที่พบในตัวปูจากบริเวณทุ่งนาที่รับน้ำจากแม่น้ำเลี่ยวเหอ ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดในจีน โดย ดร.เจมีสัน กล่าวว่า "แอมฟิพอด ที่เก็บตัวอย่างได้ มีระดับสารพิษปนเปื้อน มากพอ ๆ กับในอ่าวซูรุกะ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะสูงที่สุดของทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก"

นักวิจัยคาดว่า สาร PCBs และ PBDEs ไหลลงไปสะสมอยู่ในร่องน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับขยะพลาสติกปนเปื้อนและซากสัตว์ที่จมลงสู่ใต้ทะเล ซึ่งต่อมากลายเป็นอาหารของแอมฟิพอดและสัตว์ทะเลน้ำลึกอื่น ๆ โดยคณะผู้เขียนรายงานผลการศึกษา ระบุว่า เบื้องลึกของมหาสมุทร อาจกลายเป็น "อ่างเก็บ" หรือแหล่งรวมสารมลพิษได้ นอกจากนี้ ก็ให้เหตุผลว่า สารเคมีจะสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเมื่อจมลงถึงระดับน้ำลึกในมหาสมุทร ความเข้มข้นก็จะสูงกว่าที่บริเวณใกล้ผิวน้ำ
ด้านเคเธอรีน แดฟฟอร์น แห่งมหาวิทยาลัย นิวเซาท์ เวลส์ ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า "แม้คณะนักวิจัย จะสามารถวัดความเข้มข้นของสาร PCBs และ PBDEs ได้ในตัวสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่อยู่บริเวณร่องน้ำลึกในมหาสมุทร แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลมากนักในแง่แหล่งที่มา และกลไกของการไหลมารวมกันบริเวณนี้ และยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่เป็นพิษของสารเหล่านี้ ซึ่งอ้างว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดการเพิ่มปริมาณทางชีวภาพสู่ห่วงโซ่อาหาร ก็ยังรอการทดสอบอยู่" แต่อย่างน้อย ผลการศึกษานี้ก็ "เป็นหลักฐานว่าส่วนที่ลึกลงไปของมหาสมุทร ไม่ใช่ส่วนที่อยู่ห่างไกลออกไป กลับมีความเชื่อมโยงกับผิวน้ำด้านบน และยังได้รับสารมลพิษที่ก่อโดยมนุษย์ในปริมาณเข้มข้นด้วย"
คำวิจารณ์: จะเห็นได้ว่าสารพิษที่พบนั้นอันตรายมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เราจะต้องแก้ปัญหาต่อไปเพราะสารพิษเหล่านี้มีที่มาจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น