วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

#4.เตือนภัยใกล้ตัว ตอน สารเคมีจากก้านธูป

การนำธูปมาปักบนอาหารที่เซ่นไหว้แล้วนำมารับประทานระวังสารเคมีที่อยู่ในก้านธูปเป็นอันตรายทำร้ายสุขภาพของคุณมากกว่าที่คิด
สีที่ใช้ในก้านธูปนั้นส่วนมากจะเป็นสีย้อมผ้าโดยในสีย้อมผ้าจะประกอบไปด้วยสารเคมีโลหะหนักอย่างตะกั่ว ปรอท สารหนูและโครเมียม เป็นต้น ซึ่งการปักลงไปในอาหารก็จะทำให้สีเหล่านั้นละลายลงไปในอาหารได้อย่างรวดเร็ว
หรือสังเกตได้ง่ายๆอย่างเช่นที่มือเราเปียกน้ำหรือมีเหงื่อ เมื่อสัมผัสกับก้านธูปก็จะเห็นได้ว่าจะมีสีแดงจากก้านธูปติดมือมาด้วย ที่สำคัญสารพิษเหล่านั้นก็ไม่สามารถถูกทำลายด้วยความร้อนได้
เมื่อรับประทานเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการเฉียบพลันได้ เช่น สารปรอทอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และหากสะสมอยู่ในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้เช่นกัน
ดังนั้น จึงควรที่จะปักธูปลงไปในกระถางแยกออกจากของเส้นไหว้จะดีที่สุด เพื่อไม่ให้สารเคมีลงไปปนเปื้อนในอาหาร ทั้งที่ในชีวิตไม่เคยสูบบุหรี่เลยแม้แต่มวนเดียว ขณะเดียวกัน “สารพิษ” จากการเผาไหม้สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบร้ายแรงต่อ “เด็กเล็ก” ที่อยู่ใกล้ มีผลต่อสมองทำให้พัฒนาการช้าลง ไอคิวต่ำ และมีแนวโน้ม เป็นมะเร็งปอดในอนาคตได้ จึงสรุปว่า ธูปไร้ควันก็มีอันตรายเช่นกัน
เตือนภัยใกล้ตัว ตอน สารเคมีจากก้านธูป
คำวิจารณ์: เพียงแค่ควันธูปก็สามารถคร่าชีวิตคนได้ ดังนั้นเราจึงควรป้องกันด้วยวิธีการต่างๆเพื่อสุขภาพของตัวเอง

#3.ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯ
สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลท ส่วนผสมต้องห้ามในลิปสติก
เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
คำวิจาณ์: จะเห็นได้ว่าลิปที่มี่มีสีเข้มนั้นมักมีสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราควรเปลี่ยนมาทาลิปมันที่ช่วยบำรุงผิวปากจะดีกว่า

#2.4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรเสี่ยงโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี แนะสวมอุปกรณ์ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส หากมีอาการระคายเคือง หรือผดผื่นให้รีบไปพบแพทย์

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้
4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี

อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
  1. คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
  2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
  3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
  4. เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช

วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี

ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป
นายแพทย์สมบูรณ์  ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรคผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคือง ผื่นคัน และมักเป็นๆ หายๆ เกิดปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี ได้แก่ หยุดสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือภูมิแพ้โดยเลือกใช้สารที่อันตรายน้อยกว่าหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีโอกาสสัมผัสกับสารต่างๆให้น้อยที่สุด หมั่นทำความสะอาดพื้นบริเวณที่ทำงานเป็นประจำ และใช้ครีมทามือเพื่อป้องกันสารระคายเคือง ช่วยให้ทำความสะอาดมือง่ายขึ้น หรือใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นทาผิวช่วยลดความแห้งตึงของผิวได้ หากมีบาดแผลต้องรีบทำความสะอาด  และปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาด
ถ้าหากมีการระคายเคืองหรือผดผื่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากกรณีที่ผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผล หากติดเชื้อจะทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ลุกลามมากยิ่งขึ้น
คำวิจารณ์: ทุกอาชีพย่อมมีความเสี่ยง แต่ถ้าหากเรารู้จักป้องกัน ระมัดระวัง ความเสี่งใดๆก็จะไม่เป็นผลต่อเราแน่นอน

#1.พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก

ดร.อลัน เจมีสัน และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้เก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อไขมันของแอมฟิพอด (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งชนิดหนึ่ง) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้ยานดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมทุรที่ออกแบบมาพิเศษ ปล่อยจากเรือที่ลอยอยู่เหนือร่องน้ำมารีอานา และเคอร์มาเดค ลึกลงไป 10 กิโลเมตร และห่างกัน 7,000 กิโลเมตร
สารที่ไม่ย่อยสลาย
สารก่อมลพิษที่พบในตัวแอมฟิพอด รวมถึง โพลีคลอรีเนต ไบเฟนิล (PCBs) และโพลีโบรมิเนต ไดเฟนิล เอเธอร์ (PBDEs) ซึ่งใช้ในการผลิตฉนวนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุทนไฟ
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามการผลิต PCB เมื่อปี 1979 และในปี 2001 ก็มีการลงนามในอนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants)
แต่ปริมาณการผลิตสาร PCBs ทั่วโลก จากช่วงปี 1930 จนถึงที่ถูกสั่งห้ามในปี 1970 คาดว่าจะมีถึง 1.3 ล้านตัน ซึ่งสารที่ถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมทั้งจากอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม และการไหลซึมจากกองขยะ สามารถทนทานต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ทำให้ยังคงตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม และในผลการศึกษาระบุว่า ยากที่จะขยายขอบเขตการวิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนของสารที่พบบริเวณพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้วิธีวัดค่าและเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนที่ต่างกันในผลศึกษาก่อนหน้านี้
พบสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร
รายงานระบุด้วยว่า ระดับสาร PBCs พี่พบในร่องน้ำลึกมารีอานา สูงกว่าที่พบในตัวปูจากบริเวณทุ่งนาที่รับน้ำจากแม่น้ำเลี่ยวเหอ ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดในจีน โดย ดร.เจมีสัน กล่าวว่า "แอมฟิพอด ที่เก็บตัวอย่างได้ มีระดับสารพิษปนเปื้อน มากพอ ๆ กับในอ่าวซูรุกะ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะสูงที่สุดของทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก"
มหาสมุทรแปซิฟิก
นักวิจัยคาดว่า สาร PCBs และ PBDEs ไหลลงไปสะสมอยู่ในร่องน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับขยะพลาสติกปนเปื้อนและซากสัตว์ที่จมลงสู่ใต้ทะเล ซึ่งต่อมากลายเป็นอาหารของแอมฟิพอดและสัตว์ทะเลน้ำลึกอื่น ๆ โดยคณะผู้เขียนรายงานผลการศึกษา ระบุว่า เบื้องลึกของมหาสมุทร อาจกลายเป็น "อ่างเก็บ" หรือแหล่งรวมสารมลพิษได้ นอกจากนี้ ก็ให้เหตุผลว่า สารเคมีจะสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเมื่อจมลงถึงระดับน้ำลึกในมหาสมุทร ความเข้มข้นก็จะสูงกว่าที่บริเวณใกล้ผิวน้ำ
ด้านเคเธอรีน แดฟฟอร์น แห่งมหาวิทยาลัย นิวเซาท์ เวลส์ ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า "แม้คณะนักวิจัย จะสามารถวัดความเข้มข้นของสาร PCBs และ PBDEs ได้ในตัวสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่อยู่บริเวณร่องน้ำลึกในมหาสมุทร แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลมากนักในแง่แหล่งที่มา และกลไกของการไหลมารวมกันบริเวณนี้ และยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่เป็นพิษของสารเหล่านี้ ซึ่งอ้างว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดการเพิ่มปริมาณทางชีวภาพสู่ห่วงโซ่อาหาร ก็ยังรอการทดสอบอยู่" แต่อย่างน้อย ผลการศึกษานี้ก็ "เป็นหลักฐานว่าส่วนที่ลึกลงไปของมหาสมุทร ไม่ใช่ส่วนที่อยู่ห่างไกลออกไป กลับมีความเชื่อมโยงกับผิวน้ำด้านบน และยังได้รับสารมลพิษที่ก่อโดยมนุษย์ในปริมาณเข้มข้นด้วย"
คำวิจารณ์: จะเห็นได้ว่าสารพิษที่พบนั้นอันตรายมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เราจะต้องแก้ปัญหาต่อไปเพราะสารพิษเหล่านี้มีที่มาจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง