วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

#11.อันตราย! ผักไทยพบสารเคมีตกค้างเกือบ 100% แทบทุกชนิด

       
พบสารเคมีเกือบ 100% จริง! จากคลิปจะเห็นได้ว่า ตรวจพบผักที่มีสารเคมีจากยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่หลายชนิด เช่น ผักคะน้า พบสารเคมีตกค้างอยู่ที่ 85% ผักบุ้งจีน 98% ผักกวางตุ้ง 99% และกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ แตงกวา พบมากถึง 100% เรียกได้ว่าพบสารเคมีตกค้างทุกแหล่งผลิตเลยก็ว่าได้ เพราะคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รพ.ศิริราช) สุ่มเก็บตัวอย่างมาทดสอบจากกว่า 100 แห่ง จากหลายจังหวัดทั่วประเทศ และในทุกฤดูกาลเลยทีเดียว
ผักผลไม้ที ใช้สารเคมี 20 กว่าชนิด? นอกจากจะเจอสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยมของคนไทยหลายชนิดแล้ว แต่ละชนิดยังไม่ได้พบสารเคมีแค่ตัวเดียวอีกด้วย เช่น ในผักคะน้า พบสารเคมีตกค้างมากถึง 12 ชนิด มังคุด พบสารตกค้างมากถึง 20 ชนิด หรือว่าจะเป็นส้มที่พบมากถึง 21 ชนิดเช่นกัน นั่นหมายความว่าเกษตรกรใช้สารเคมีมากถึง 21 ชนิดในการปลูกส้มนั่นเอง
 ถูก-แพง ก็พบสารเคมีเหมือนกัน! นอกจากนี้ รศ. ดร. สมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์ จากศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการวิจัยผัก และผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ราคาของผักไม่ได้การันตีว่าจะไม่พบสารเคมี หรือพบสารเคมีมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่อย่างใด จากการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ทั้งจากตลาดสด และในซุปเปอร์มาร์เก็ตขึ้นหาก ทั้งจากแหล่งผลิตที่เขียนข้างบรรจุภัณฑ์ชัดเจนว่า “ผักปลอดสารพิษ” “ผักอินทรีย์” สุดท้ายก็เจอสารเคมีเพียบ นั่นหมายความว่าเราจ่ายเงินมากกว่าหลายเท่า แต่ได้ผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากเท่าๆ กับผักผลไม้ในตลาดสด

#10.เชื้อเห็ดรา มีคุณค่ามากกว่าเป็นอาหาร และยารักษาโรค

ซูโดฟิโบรโพเรีย ซิตรอเนลลา(Pseudofibroporia citronella), จีน

       พวกมันอยู่ทั่วไปทั้งในดิน ในตัวเราและในอากาศ แต่มักมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พวกมันเป็นได้ทั้งอาหารและยา ทว่าบางครั้งก็สร้างหายนะใหญ่หลวงด้วยการก่อให้เกิดโรคในพืชและสัตว์ จากการประเมินสภาวะเชื้อเห็ดราในโลกครั้งใหญ่เป็นครั้งแรก พบว่า อาณาจักรเห็ดรามีความสำคัญต่อชีวิตบนโลกใบนี้ แต่มากกว่า 90% ของเชื้อเห็ดรา 3.8 ล้านชนิดในโลก ยังไม่เป็นที่รู้จักทางวิทยาศาสตร์ ศ. แคที วิลลิส ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงคิว (Kew Gardens) ซึ่งเป็นผู้นำในการทำรายงานนี้ กล่าวว่า "มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจมาก แต่เรารู้จักมันน้อยมาก""พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลก และมีวัฏจักรชีวิตที่ประหลาดมาก กระนั้น เมื่อคุณเข้าใจบทบาทในระบบนิเวศของมัน คุณจะตระหนักว่า พวกมันช่วยค้ำจุนสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกนี้"ผู้คนจำนวนมากคุ้นเคยกับเห็ดที่กินได้ หรือเชื้อราที่อยู่เบื้องหลังการค้นพบเพนิซิลลิน แต่เชื้อเห็ดรามีบทบาทที่สำคัญอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ช่วยให้พืชดูดน้ำและสารอาหารจากดิน ไปจนถึงด้านการแพทย์ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และช่วยในการปลูกถ่ายอวัยวะ เชื้อเห็ดรายังช่วยเพิ่มความหวังในการย่อยพลาสติกและสร้างเชื้อเพลิงชีวภาพชนิดใหม่ ๆ ด้วย แต่พวกมันก็มีข้อเสียเช่นกัน ได้แก่ การทำลายต้นไม้, พืชผล และพืชต่าง ๆ ทั่วโลก และยังกำจัดสัตว์จำนวนมากอย่างสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำให้หมดไปด้วย
ที่มา bbc.com

#9.แบคทีเรียในน้ำลายหมีสีน้ำตาลอาจเป็นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่

หมี

      ผลการตรวจสอบเบื้องต้นปรากฏว่า มีเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งในน้ำลายของหมีสีน้ำตาล ไม่มีเชื้ออันตรายอย่าง Staphylococcus aureus มาอาศัยร่วมอยู่ด้วย แสดงว่าแบคทีเรียชนิดนี้สามารถฆ่าเชื้ออันตรายดังกล่าว ซึ่งเป็นเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเมทิซิลลิน หรือที่เรียกกันว่าเชื้อ MRSA ซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของวงการสาธารณสุขทั่วโลกนั่นเอง ศ. คอนสแตนติน เซเวรินอฟ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า จำเป็นต้องจับหมีสีน้ำตาลพันธุ์ดังกล่าวมาจากถิ่นอาศัยในป่าลึก เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำลาย ก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติดังเดิม เพราะไม่อาจใช้หมีในสวนสัตว์ที่กินอาหารและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้ระบบชีวนิเวศจุลชีพในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากตอนเป็นสัตว์ป่าแล้ว "เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เราใช้แยกแยะเชื้อแบคทีเรียนับแสนชนิดในน้ำลายของหมีออกจากกัน ทำให้ค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการเป็นยาปฏิชีวนะขนานใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เทคนิคนี้จะปูทางไปสู่การค้นหายาปฏิชีวนะรุ่นใหม่จากสัตว์ป่า ซึ่งจะทรงประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อดื้อยาได้ดีกว่าเดิม" ศ. เซเวรินอฟกล่าว

#8.รู้หรือไม่ ? ใครชอบแต่งหน้า เสี่ยงสะสมสารเคมี 2 กิโลต่อปี


      ปัจจุบันผู้หญิงถึง 70% แต่งหน้า และยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เป็นเรื่องง่าย เพียงแค่คลิกเดียวสาวๆ ก็สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างมากมาย ทำให้สามารถแต่งหน้าได้หลากหลายและสนุกยิ่งขึ้น โดยเลือกสไตล์การแต่งหน้าได้ตามแบบที่แต่ละคนชื่นชอบรู้กันหรือไม่ว่าในเครื่องสำอางที่ใช้กันอยู่แทบจะทุกวันนั้นมีส่วนประกอบของสารเคมีอยู่ระหว่าง 80 – 90% ซึ่งถ้าหากสาวๆ ไม่ดูแลปกป้องผิวหน้ากันอย่างดีแล้ว นอกจากจะได้ผิวหน้าหมองคล้ำ มีริ้วรอยเป็นของแถมแล้ว ยังเสี่ยงต่อการสะสมสารเคมีในร่างกายถึงปีละ 2 กิโลกรัม ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับผิว ความผิดปกติด้านฮอร์โมน หรือแม้กระทั่งก่อเกิดมะเร็งได้ ประเด็นนี้คุณหมอโทนี่ วรพล สุขีวัฒนา ย้ำว่า การแต่งหน้าเยอะทุกวันทำให้ผิวหน้าได้รับออกซิเจนน้อยลงทำให้เซลล์เสื่อม และดูมีอายุก่อนวัย ถึงแม้จะมีการทำความสะอาดเป็นอย่างดีก่อนนอน ดังนั้นยิ่งผู้หญิงยิ่งแต่งหน้าหนามากเท่าไหร่ จะยิ่งสุ่มเสี่ยงต่อการดูแก่ก่อนวัยและผิวหมองคล้ำมากขึ้นเท่านั้น

#7.สำรวจรายได้บริษัทนำเข้าสารเคมี หลังลือ “อ.ยักษ์” ถูกเด้งเซ่นต้าน 3 สารพิษ

สำรวจรายได้บริษัทนำเข้าสารเคมี หลังลือ “อ.ยักษ์” ถูกเด้งเซ่นต้าน 3 สารพิษ

       ก่อนหน้านี้ อ.ยักษ์ ได้ลั่นวาจาว่า “ผมทำงานเดิมพันด้วยชีวิต ไม่ใช่ด้วยตำแหน่ง แผ่นดินต้องไร้สารพิษในพื้นที่เกษตรกร 4-5 ล้านไร่ กำหนดไว้ 5 ปีสิ้นสุดปี 2564” ซึ่งหากดูประวัติของ อ.ยักษ์ จะพบว่าเคยเป็นอดีตข้าราชการที่ผันตัวไปทำเกษตรอินทรีย์ตามศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่นเอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าอุดมการณ์ของ อ.ยักษ์ ที่จะผลักดันให้เกษตรกรไทยทั่วประเทศหันมาทำเกษตรอินทรีย์นั้นมีมากขนาดไหน แน่นอนการประกาศยกเลิกใช้สารเคมีภัณฑ์เหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าอย่างแน่นอน ซึ่ง Sanook! Money ได้รวบรวมบริษัทผู้นำเข้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ทางด้านเกษตรรายใหญ่ที่มีขนาดใกล้เคียงมาส่อง เพื่อดูรายได้-กำไรกัน
บริษัท เจียไต๋ จำกัด (เครือ CP)  ดำเนินธุรกิจขายส่งปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการย้อนหลัง ดังนี้
ปี 2558 รายได้ 18,190 ล้านบาท กำไร 1,052 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 17,456 ล้านบาท กำไร 1,249 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 16,856 ล้านบาท กำไร 1,175 ล้านบาท
บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด  ดำเนินธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ขั้นมูลฐานอื่นๆ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 7,396 ล้านบาท มีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้
ปี 2558 รายได้ 29,542 ล้านบาท กำไร 216 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 29,451 ล้านบาท ขาดทุน 1,658 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 31,517 ล้านบาท ขาดทุน 2,556 ล้านบาท
บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด (เข้าซื้อ บริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด บริษัทที่เกษตรกรคุ้นเคยกันดี)  มีผลประกอบการย้อนหลัง ดังนี้
ปี 2558 รายได้ 24,043 ล้านบาท กำไร 1,990 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 7,370 ล้านบาท กำไร 253 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 8,195 ล้านบาท กำไร 185 ล้านบาท

#6.โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”

   à¹‚รงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์ ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1

#5.วิธีกำจัดแมลงหวี่แบบง่าย ๆ ไม่พึ่งสารเคมี



วิธีกำจัดแมลงหวี่แบบง่าย ๆ ไม่พึ่งสารเคมี

  • กำจัดแมลงหวี่ด้วยเชือกงานนี้เราใช้เชือกสีขาวๆ เท่านั้น นำมาผูกกับราว หรือ ตามยาวลงมา แมลงหวี่จะบินไปเกาะ ไม่มาตัวเดียวด้วย ชวนกันมา จากนั้นก็นำน้ำมันเครื่อง น้ำมันก๊าซ หรือ น้ำมัน พืช น้ำมันหมู มาใส่ภาชนะ แล้วมาเคลือบที่เชือกเพื่อจับแมลงหวี่ มันจะติดบินไปใหนไม่ได้แล้ว
  • ควันกาบมะพร้าว กับ เครือกระทกรกแมลงหวี่ไม่ชอบกลิ่นกาบมะพร้าว กับเครือกระทกรกที่ตากแห้งแล้วเอามามัดจุดไฟให้เกิดควัน จะหนีไปไม่กลับมาอีก
  • กำจัดแมลงหวี่โดยใช้ใบหางนกยูงไล่แมลงหวี่แบบธรรมชาติ เพียงนำก้านของใบหางนกยูงมาใส่ไว้บนแจกันบนโต๊ะทำงาน หรือตรงที่มารบกวน แมลงหวี่นั้นไม่ชอบกลิ่นของใบหางนกยูง
กำจัดแมลงหวี่ด้วยดอกดาวเรือง ให้เด็ดดอกดาวเรืองมาแช่ในน้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นก็เอาน้ำที่ได้มารดบริเวณที่มีแมลงหวี่ รับรองได้ว่าเพียงไม่กี่วันแมลงหวี่จะหนีหายไปจากที่นั่น พร้อมกำจัดทั้งไข่ของแมลงหวี่

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

#4.เตือนภัยใกล้ตัว ตอน สารเคมีจากก้านธูป

การนำธูปมาปักบนอาหารที่เซ่นไหว้แล้วนำมารับประทานระวังสารเคมีที่อยู่ในก้านธูปเป็นอันตรายทำร้ายสุขภาพของคุณมากกว่าที่คิด
สีที่ใช้ในก้านธูปนั้นส่วนมากจะเป็นสีย้อมผ้าโดยในสีย้อมผ้าจะประกอบไปด้วยสารเคมีโลหะหนักอย่างตะกั่ว ปรอท สารหนูและโครเมียม เป็นต้น ซึ่งการปักลงไปในอาหารก็จะทำให้สีเหล่านั้นละลายลงไปในอาหารได้อย่างรวดเร็ว
หรือสังเกตได้ง่ายๆอย่างเช่นที่มือเราเปียกน้ำหรือมีเหงื่อ เมื่อสัมผัสกับก้านธูปก็จะเห็นได้ว่าจะมีสีแดงจากก้านธูปติดมือมาด้วย ที่สำคัญสารพิษเหล่านั้นก็ไม่สามารถถูกทำลายด้วยความร้อนได้
เมื่อรับประทานเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการเฉียบพลันได้ เช่น สารปรอทอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และหากสะสมอยู่ในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้เช่นกัน
ดังนั้น จึงควรที่จะปักธูปลงไปในกระถางแยกออกจากของเส้นไหว้จะดีที่สุด เพื่อไม่ให้สารเคมีลงไปปนเปื้อนในอาหาร ทั้งที่ในชีวิตไม่เคยสูบบุหรี่เลยแม้แต่มวนเดียว ขณะเดียวกัน “สารพิษ” จากการเผาไหม้สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบร้ายแรงต่อ “เด็กเล็ก” ที่อยู่ใกล้ มีผลต่อสมองทำให้พัฒนาการช้าลง ไอคิวต่ำ และมีแนวโน้ม เป็นมะเร็งปอดในอนาคตได้ จึงสรุปว่า ธูปไร้ควันก็มีอันตรายเช่นกัน
เตือนภัยใกล้ตัว ตอน สารเคมีจากก้านธูป
คำวิจารณ์: เพียงแค่ควันธูปก็สามารถคร่าชีวิตคนได้ ดังนั้นเราจึงควรป้องกันด้วยวิธีการต่างๆเพื่อสุขภาพของตัวเอง

#3.ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯ
สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลท ส่วนผสมต้องห้ามในลิปสติก
เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
คำวิจาณ์: จะเห็นได้ว่าลิปที่มี่มีสีเข้มนั้นมักมีสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราควรเปลี่ยนมาทาลิปมันที่ช่วยบำรุงผิวปากจะดีกว่า

#2.4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรเสี่ยงโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี แนะสวมอุปกรณ์ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส หากมีอาการระคายเคือง หรือผดผื่นให้รีบไปพบแพทย์

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้
4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี

อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
  1. คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
  2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
  3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
  4. เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช

วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี

ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป
นายแพทย์สมบูรณ์  ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรคผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคือง ผื่นคัน และมักเป็นๆ หายๆ เกิดปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี ได้แก่ หยุดสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือภูมิแพ้โดยเลือกใช้สารที่อันตรายน้อยกว่าหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีโอกาสสัมผัสกับสารต่างๆให้น้อยที่สุด หมั่นทำความสะอาดพื้นบริเวณที่ทำงานเป็นประจำ และใช้ครีมทามือเพื่อป้องกันสารระคายเคือง ช่วยให้ทำความสะอาดมือง่ายขึ้น หรือใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นทาผิวช่วยลดความแห้งตึงของผิวได้ หากมีบาดแผลต้องรีบทำความสะอาด  และปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาด
ถ้าหากมีการระคายเคืองหรือผดผื่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากกรณีที่ผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผล หากติดเชื้อจะทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ลุกลามมากยิ่งขึ้น
คำวิจารณ์: ทุกอาชีพย่อมมีความเสี่ยง แต่ถ้าหากเรารู้จักป้องกัน ระมัดระวัง ความเสี่งใดๆก็จะไม่เป็นผลต่อเราแน่นอน

#1.พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก

ดร.อลัน เจมีสัน และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้เก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อไขมันของแอมฟิพอด (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งชนิดหนึ่ง) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้ยานดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมทุรที่ออกแบบมาพิเศษ ปล่อยจากเรือที่ลอยอยู่เหนือร่องน้ำมารีอานา และเคอร์มาเดค ลึกลงไป 10 กิโลเมตร และห่างกัน 7,000 กิโลเมตร
สารที่ไม่ย่อยสลาย
สารก่อมลพิษที่พบในตัวแอมฟิพอด รวมถึง โพลีคลอรีเนต ไบเฟนิล (PCBs) และโพลีโบรมิเนต ไดเฟนิล เอเธอร์ (PBDEs) ซึ่งใช้ในการผลิตฉนวนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุทนไฟ
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามการผลิต PCB เมื่อปี 1979 และในปี 2001 ก็มีการลงนามในอนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants)
แต่ปริมาณการผลิตสาร PCBs ทั่วโลก จากช่วงปี 1930 จนถึงที่ถูกสั่งห้ามในปี 1970 คาดว่าจะมีถึง 1.3 ล้านตัน ซึ่งสารที่ถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมทั้งจากอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม และการไหลซึมจากกองขยะ สามารถทนทานต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ทำให้ยังคงตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม และในผลการศึกษาระบุว่า ยากที่จะขยายขอบเขตการวิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนของสารที่พบบริเวณพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้วิธีวัดค่าและเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนที่ต่างกันในผลศึกษาก่อนหน้านี้
พบสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร
รายงานระบุด้วยว่า ระดับสาร PBCs พี่พบในร่องน้ำลึกมารีอานา สูงกว่าที่พบในตัวปูจากบริเวณทุ่งนาที่รับน้ำจากแม่น้ำเลี่ยวเหอ ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดในจีน โดย ดร.เจมีสัน กล่าวว่า "แอมฟิพอด ที่เก็บตัวอย่างได้ มีระดับสารพิษปนเปื้อน มากพอ ๆ กับในอ่าวซูรุกะ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะสูงที่สุดของทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก"
มหาสมุทรแปซิฟิก
นักวิจัยคาดว่า สาร PCBs และ PBDEs ไหลลงไปสะสมอยู่ในร่องน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับขยะพลาสติกปนเปื้อนและซากสัตว์ที่จมลงสู่ใต้ทะเล ซึ่งต่อมากลายเป็นอาหารของแอมฟิพอดและสัตว์ทะเลน้ำลึกอื่น ๆ โดยคณะผู้เขียนรายงานผลการศึกษา ระบุว่า เบื้องลึกของมหาสมุทร อาจกลายเป็น "อ่างเก็บ" หรือแหล่งรวมสารมลพิษได้ นอกจากนี้ ก็ให้เหตุผลว่า สารเคมีจะสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเมื่อจมลงถึงระดับน้ำลึกในมหาสมุทร ความเข้มข้นก็จะสูงกว่าที่บริเวณใกล้ผิวน้ำ
ด้านเคเธอรีน แดฟฟอร์น แห่งมหาวิทยาลัย นิวเซาท์ เวลส์ ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า "แม้คณะนักวิจัย จะสามารถวัดความเข้มข้นของสาร PCBs และ PBDEs ได้ในตัวสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่อยู่บริเวณร่องน้ำลึกในมหาสมุทร แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลมากนักในแง่แหล่งที่มา และกลไกของการไหลมารวมกันบริเวณนี้ และยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่เป็นพิษของสารเหล่านี้ ซึ่งอ้างว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดการเพิ่มปริมาณทางชีวภาพสู่ห่วงโซ่อาหาร ก็ยังรอการทดสอบอยู่" แต่อย่างน้อย ผลการศึกษานี้ก็ "เป็นหลักฐานว่าส่วนที่ลึกลงไปของมหาสมุทร ไม่ใช่ส่วนที่อยู่ห่างไกลออกไป กลับมีความเชื่อมโยงกับผิวน้ำด้านบน และยังได้รับสารมลพิษที่ก่อโดยมนุษย์ในปริมาณเข้มข้นด้วย"
คำวิจารณ์: จะเห็นได้ว่าสารพิษที่พบนั้นอันตรายมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เราจะต้องแก้ปัญหาต่อไปเพราะสารพิษเหล่านี้มีที่มาจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง